วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

WLJ#10: Feb.1, 2011 Enterprise System, Supply Chain Management and Enterprise Resource Planning

Lecture# 10
Feb.1, 2011
Enterprise System, Supply Chain Management and Enterprise Resource Planning
Enterprise System
จากหลักการที่ว่า บริษัทจำเป็นพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้จริงในองค์กร รวมทั้งพิจารณาด้านการลงทุน ความคุ้มค่า เป็นต้น ระบบสารสนเทศพื้นฐานที่สุดคือ Functional Information System ระบบที่แต่ละหน่วยงานพัฒนาขึ้นเองหรือซื้อ หรือเช่ามาที่แยกแต่ละหน่วย เพราะความต้องการของแต่ละหน่วยแตกต่างกัน การทำงานไม่ตรงกับทุกหน่วยงานโดยรวมอำนาจในการทำงานและตัดสินใจเฉพาะของแต่ละหน่วย เช่น ฝ่านขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบัญชี ข้อเสียคือ จะมีฐานข้อมูลที่แยกจากกัน มีปัญหาด้านการพัฒนาในระดับองค์กรโดยรวม และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและพนังงานที่ทำหน้าที่เฉพาะ
ตัวอย่าง Dell ตั้งโรงงานและการบริการลูกค้าแยกสถานที่กัน ต้องมีระบบฐานข้อมูลที่สื่อสารระหว่างสถานที่กันได้
UPS บริการส่งสินค้าและพัสดุมีระบบ Tracking Package เป็นรายแรก
                การมีระบบสารสนเทศแบบ Enterprise System จะสามารถรวมทุกกิจกรรมที่สำคัญของธุรกิจ (Key Process)
§  ERP ระบบจัดการริหารงานภายในขององค์กร เช่น Oracle ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังลูกค้าและผู้ขายได้ด้วย
§  CRM บริหารความสัมพันธ์ลูกค้า
§  Knowledge Management Systems (KM) บริหารงานภายในเพื่อสร้าง พัฒนาความรู้ภายในองค์กร เช่น K-Business
§  Supply Chain Management (SCM) การบริหาร Supply Chain ตั้งแต่ผู้ผลิตแรกจนถึงลูกค้า
§  Decision Support Systems (DSS) ระบบที่ช่วยในการตัดสินใจภายในองค์กรแก่ผู้บริหาร เช่น ระบบส่งรถโดยคำนวณการใช้น้ำมัน การเดินทาง เพื่อให้เกิดการประหยัดน้ำมันมากที่สุด ระบบการจัดส่งน้ำมันให้แก่ปั๊มน้ำมัน
§  Business Intelligence (BI) การบริหารความรู้ภายในองค์กร นอกจากการอบรมที่บริษัทจัดขึ้นเอง อาจรวบรวมจากอีเมล์หรือการสื่อสารระหว่างบุคคลกันเอง
Supply Chain Management
ต้องสามารถแยกความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละองค์ประกอบ เพื่อสร้างระบบสารสนเทศรองรับในการสื่อสารระหว่างกัน เนื่องจากเป็นบุคคลภายนอก เช่น Wal-mart จะต้องมีสารสนเทศสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันตลอดจนเป็นคู่ค้าระยะยาว เช่น ตรวจเช็คปริมาณที่จะต้องนำมาเติมสินค้าอัตโนมัติ
§  Warehouse Management System (WMS) เพื่อบริหารสินค้าในคลัง เช่น จำนวน การวางสินค้า การเข้าออกของสินค้า
§  Inventory Management System (IMS)
§  Fleet Management system ระบบการบริหารการส่งของ สำหรับเช็คว่ามีการส่งของในแต่ละที่เท่าไหร่ + RFID ตรวจสอบการส่งของจริงอีกครั้ง เช่น ส่งของภาคเหนือ อาจแวะส่งของที่แต่ละจังหวัดก่อน ต้องเช็คการส่งในแต่ละจังหวัดด้วยว่าลงอะไร เท่าไหร่ ส่งข้อมูลกลับไปที่สำนักงานใหญ่
§  Vehicle Routing and Planning คำนวณเส้นทางเดินรถขนส่ง เพื่อประหยัดน้ำมัน
§  Vehicle Based System บริหารจัดการรถบรรทุกในการตรวจสอบสถานะ สถานที่การเดินทางที่อยู่ปัจจุบัน เช่น ระบบ GPS ตรวจจับสถานที่ ระบบการวัดแอลกออล์
10 IT Trends for Logistics Supply Chain Management
1)      Connectivity เชื่อมโยงกับเครื่องมือได้ง่ายมากขึ้น เช่น การใช้ Wireless สามารถเชื่อมต่อผ่านมือถือได้ การ 802.11a และ 802.11g มีศักยภาพได้มากขึ้นกว่า เนื่องจากมีความเร็วมากกว่าและสามารถกระจายคลื่นผ่านเครื่องกระจายได้มากขึ้น สามารถรักษาสถานะสัญญาณได้มากขึ้น  
2)      Advanced Wireless : Voice & GPS ผ่านการใช้เสียงและ GPS เป็นการใช้งานได้มากขึ้นของเครื่องมือการสื่อสารหรือ Tablet เช่น BB เริ่มจากการใช้งานในองค์กรก่อน หากจะนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจสินค้าในโกดังอาจไม่เหมาะแต่ก็สามารถสร้างแรงจูงใจในการใช้งานให้แก่พนักงานมากกว่า
3)      Speech Recognition การสั่งงานด้วยเสียง เช่น Intermec บรัทผลิตปริ้นเตอร์และพัฒนาสินค้าที่สามารถสั่งงานด้วยเสียง
4)      Digital Imaging การประมวลผลภาพดิจดตอลผ่านรูปภาพที่ถ่าย
5)      Portable Printing สามารถทำเป็นใบเสร็จและติดต่อกลับเข้าที่สำนักงานใหญ่ได้ทันที เช่น ธุรกิจประกัน (ในต่างประเทศ)
6)      2D & other barcoding advances บาร์โค้ด 2 มิติจะสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้มากกว่า  
7)      RFID ชิปฝังอยู่ในบัตรหรือแถบสินค้า บัตรทางด่วน กล่องสินค้า สามารถสแกนอ่านข้อมูลได้ว่ามีสินค้าอยู่จำนวนเท่าไหร่ มาจากที่ใด เป็นเทคโนโลยีสำคัญของระบบการบริการห่วงโซ่
8)      Real Time Location System; RTLS ระบบแสดงตำแหน่งเวลาจริง ใช้ร่วมกับ RFID ทำให้องค์กรสามารถขยายเครือข่ายแลนไร้สายขององกรเข้าสู่ระบบการติดตามสินทรัพย์ ป้องกันการขโมยสินค้าได้
9)      Remote Management การจัดการทางไกล ใกล้เคียงกับ RTLS เพียงแต่ใช้สำหรับระยะไกล โดยใช้ระบบแลนไร้สายเพื่อติดตามสินทรัพย์ของคลังสินค้าและโรงงาน เป็นตัวอย่างของการปรับใช้ทรัพยากรไอทีให้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อม อุตสาหกรรม อีกตัวอย่างคือระบบการจัดการระยะไกลประสิทธิภาพสูงได้รับการพัฒนาเฉพาะเพื่อ กำหนดค่า ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาเครื่องอ่านและเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด อุปกรณ์อาร์เอฟไอดี คอมพิวเตอร์ที่ทนทาน และอุปกรณ์การเก็บและสื่อสารข้อมูลอุตสาหกรรมอื่นๆ
10)   Security ความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายไร้สาย ประเด็นสำคัญมากโดยเฉพาะสำหรับการใช้งาน Wireless เพราะข้อมูลกระจายอยู่โดยไม่ทราบว่ามีใครแอบใช้ข้อมูลหรือไม่
Supply Chain Management and Its Business Value
                ประเด็นสำคัญอยู่ที่ทุกหน่วยงานมีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน เช่น Wal-Mart ให้คู่ค้าต้องแบ่งปันข้อมูลให้เพื่อความสะดวกในการรับส่งสินค้า เป็นปัญหาในการทำงานจริง เนื่องจากอาจส่งผลกระทบเรื่องการนำข้อมูลไปใช้ ซึ่งเป็นการ Collaborative Planning ผ่านการออกแบบการส่งข้อมูลและสินค้าร่วมกัน สามารถประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่จะเป็น รวมทั้งผ่านการจัดการ Vendor Managed Inventory (VMI) ระหว่างคู่ค้าด้วยกัน
ERP
        ช่วยเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูลจากทุกหน่วยงานได้ เช่น สร้างการซื้อขายและดำเนินธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ (Provide an electronic order form) เป็นต้น สำหรับการเข้ามาของ ERP อาจมีปัญหาเนื่องจากความจริงแล้วมีระบบสารสนเทศเดิมอยู่แล้ว ต้องมีการปรับตัวที่อาจสร้างกระแสต่อต้านได้ด้วยจึงมีหลายครั้งที่การนำ ERP มาใช้ไม่ประสบความสำเร็จ
ตัวอย่างระบบ ERP  SAP, Oracle ไม่ว่าจะซื้อหรือเช่าระบบใดมาต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้เข้ากับการดำเนินงานหลักของแต่ละบริษัท ซึ่งใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายต่อเนื่องค่อนข้างมาก ส่งผลให้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการนำมาใช้จริงในประเทศไทย เป็นต้น
                ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในแผนก/ หน่วยงานที่สำคัญก่อน เช่น การเงิน การบัญชี การตลาด การขายสำหรับบันทึกข้อมูลลูกค้า การขนส่งและการออกใบกำกับเพื่อส่งสินค้าแก่ลูกค้า เป็นต้น
Third-Party Module
เป็นการปรับ Module ย่อยเข้ากับ ERP หลักขององค์กรที่มีอยู่ สามารถใช้งานเฉพาะเสริมขึ้นมาในราคาต้นทุนที่ประหยัดกว่า แต่อาจมีปัญหาจากการขาดความเชื่อมโยงเข้ากับระบบหลักได้ เช่น
§  CRM
§  Customer Self-Service (CSS)
§  Sales Force Automation (SFA)
§  Supply Chain Management (SCM) สำหรับการบริหารห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นจนถึงลูกค้าท้ายสุด
§  Product Lifecycle Management (PLM) เน้นเรื่องการบริหารสินค้าในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การออกแบบจนถึงการขายสินค้าหรือการทำลาย สามารถเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนาสินค้าต่อไปได้
§  Supplier Relationship Management (SRM)
นอกจากนี้ต้องพิจารณาประเด็นการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีเช่น ระหว่างการซื้อ หรือการเช่า หรือสร้างเองภายในองค์กร แล้วแต่ความสามารถและความพร้อมขององค์กรด้วย
น.ส. พิมพ์ชนก เกตุสุวรรณ์ 5302110076

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

WLJ#9: Jan.19, 2011 Data Management and Business Intelligence

Lecture#9
Jan. 19, 2011

Data Management and Data Intelligence
: Data Management (ต่อ)

Major Benefits of Data Warehouse
1)      สามารรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อความต้องการการใช้งาน เนื่องจากอำนวนความสะดวกเรื่องการรวบรวมข้อมูลที่มีความจำเป็นไว้ในที่เดียวแล้ว
2)      ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสามารถเข้าใจ รวมทั้งนำไปใช้ต่อได้ง่ายภายใต้รูปแบบเดียวกันของการนำเสนอข้อมูล อาทิ ผ่านระบบ Single Sign-on เป็นการสร้างระบบการเข้าถึงข้อมูลผ่านรหัสเดียวทั้งองค์กร

Characteristics of Data Warehouse (เน้นเฉพาะหัวข้อที่สำคัญ)
§  Organization เน้นที่การจัดระเบียบหรือจัดหมวดหมู่ข้อมูลใหม่จากการรวมข้อมูลหลายแหล่ง
§  Consistency เนื่องจากมีการรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแห่งที่มีรูปแบบการจัดเรียงหรือการรวบรวมที่แตกต่างกัน จึงทำให้ข้อมูลมีความแตกต่าง ไม่สม่ำเสมอทั้งที่เป็นข้อมูลความจริงเรื่องเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ซึ่งเมื่อนำมารวมใน Data Warehouse แล้วจะต้องจัดเรียงในรูปแบบเดียวกันเป็นที่ยอมรับและเข้าใจได้อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งในเรื่องรูปแบบการนำเสนออีกด้วย เช่น การนำเสนอในเชิงบริหาร เช่น Drill Downs ซึ่งคือการนำเสนอข้อมูลในลักษณะภาพรวมก่อนแล้วจึงเลือกพิจารณาในรายละเอียดเฉพาะในจุดที่สนใจ (ตรงข้ามกับ Rollups) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ระบบสารสนเทศหรือ ระบบการจัดการข้อมูลที่ดี ต้องสามารถคัดกรองและจำกัดการให้ข้อมูลสำหรับผ้าที่มีสิทธิเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยในการรักษาข้อมูลที่สำคัญที่อาจเกิดผลกระทบกับองค์กรได้

Data Warehouse Process
                กระบวนการต่างจำเป็นเฉพาะในองค์กรที่ต้องการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจสำหรับผู้บริหารและทุกภาคส่วนในองค์กร ดังนี้
1)      Meta Data
คือ ข้อมูลของข้อมูล พิจารณาถึงสิ่งที่ต้องการในการจัดทำ Data Warehouse รวมทั้งบอกแนวทางของข้อมูลหรือแหล่งที่ต้องรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น แบ่งเป็น Operational Data (ข้อมูลภายในองค์กรจากระบบ TPS) และ External Data (ข้อมูลภายนอกองค์กร อาทิ ข้อมูลองค์กรคู่แข่ง)
2)      Data Staging E(C)TL แบ่งตามองค์ประกอบคือ
§  Extract การคัดแยกข้อมูลออกมารวบรวมเพื่อปรากฎในที่ใหม่คือ Data Warehouse
§  Clean การปรับข้อมูลในอยู่ในรูปที่ครบถ้วนและมีประโยชน์ในการจัดเก็บ
§  Transform การแปลงสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานและพร้อมใช้งาน
§  Load การโหลดข้อมูลลง Data Cube โดยแสดงในมุมมองที่หลากหลายและพร้อมใช้งาน
ซึ่งทั้งหมดข้างต้นเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อนำข้อมูลไปใช้งาน โดยผ่านกระบวนการ Slice and Dice เพื่อระบุว่าต้องการใช้งานข้อมูลใดบ้าง
3)      Data Warehouse Business Subject เพื่อสร้างแหล่งเก็บข้อมูลที่ตรงกับความต้องการย่อยจริง
4)      Business View พัฒนารูปแบบให้การนำเสนอข้อมูลเหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งานจริง อาทิ ผู้บริหารต้องการข้อมูลแบบ Dashboard เป็นต้น
5)      Information Catalog เพื่อเป็นแบบในการเลือกว่าต้องการข้อมูลแต่ละประเภทต้องหาจากที่ใด

Enterprise Data Warehouse
                เสมือน Data Warehouse ของทั้งองค์กรที่ทุกฝ่ายสามารใช้ข้อมูลร่วมกันได้ มีปัญหาคือ อาจเกิดความล่าช้าในการเลือกและนำเสนอข้อมูลเมื่อมีผู้ใช้งานมากกว่าหนึ่งคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้โดยการทำ Data Mart คือการตัดแบ่งข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้งานจริง (จากมุมมองของผู้ใช้งาน) แบ่งออกเป็น
§  Replicated (Dependent) Data Mart พัฒนาจาก Data Warehouse ขององค์กรแล้วจึงแยกข้อมูลเฉพาะของแต่ละแผนก
§  Stand-alone Data Mart (ในทางกลับกัน)

: Business Intelligence (BI)

: เครื่องมือในการสร้างสารสนเทศ วิเคราะห์ข้อมูลสำหรับผู้บริหารรัดับสูงขึ้นไป

BI’s Functions and Features
1)      Reporting and Analysis การออกรายงานและการนำเสนอด้านผู้ใช้งาน เช่น
§  Dashboard การนำเสนอข้อมูลแบบ Process Chart ในระดับปฏิบัติงาน
§  Scorecard สำหรับประเมินผลและติดตามงาน เช่น Balance Scorecard (BSC) สำหรับการประเมินผลการดำเนินงานทั้ง 4 ด้านพร้อมกันคือ การเงิน ความพึงพอใจของลูกค้า ระบบการเรียนรู้และการพัฒนาภายใน และการดำเนินงานภายในองค์กร
2)      Analytic เช่น
§  Online Analytical Processing (OLTP) คือ Software ที่ช่วยผู้บริหารในหารเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสมกับความต้องการจริง ทำให้สามารถนำมาใช้งานและตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น
3)      Data Integration การเคลื่อนย้ายเพื่อนำเสนอข้อมูลให้พร้อมกับการใช้งานจริง

Data Mining
: การค้นหาข้อมูลหรือสิ่งที่ไม่เคยทราบมาก่อน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำมาปฏิบัติใช้ได้จริง เสมือนการกรองข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากให้เหลือเฉพาะข้อมูลที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์กับการตัดสินใจ แบ่งได้คือ
1.       Clustering การจัดกลุ่มของข้อมูลโดยไม่มีการตั้งสมมติฐานไว้ล่วงหน้า
2.       Classification การจัดกลุ่มของข้อมูลแต่มีการตั้งสมมติฐานไว้ล่วงหน้า
3.       Association การสร้างผลสืบเนื่องของข้อมูลให้มีความเกี่ยวข้องกันมากขึ้น
4.       Sequence Discovery การแสดงผลที่เกิดขึ้นสืบเนื่องตามหลังมา
5.       Prediction การคาดการณ์ไปในอนาคตข้างหน้า

Text Mining 
: เสมือนการทำ Data Mining ในกรณีที่ข้อมูลเป็น Unstructured Data หรือข้อมูลไม่มีโครงสร้างที่ตายตัวหรือรูปแบบที่แน่นแน เช่น จดหมายการ complain ของลูกค้า เป็นต้น โดยระบบจะพยายามค้นหาความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆในข้อมูลที่กระจัดกระจายดังกล่าว เพื่อจับกลุ่มประเด็นของข้อมูลสำหรับการใช้งานต่อไป

น.ส. พิมพ์ชนก เกตุสุวรรณ์ 5302110076